ดูดาวเสาร์ ต้องใช้กล้องดูดาว

ท้องฟ้ากลางคืนมีดาว คนในอดีตดูดาวกันจนเกิดความรู้ต่างๆมากมาย หากเราอยากดูดาวให้ชัดเจนเหมือนอย่างที่นักวิทยาศาสตร์โบราณทำก็ต้องใช้กล้องดูดาว กาลิเลโอเคยใช้กล้องดูดาวส่องท้องฟ้า แล้วก็ค้นพบ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัส รวมถึงดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัส นักดาราศาสตร์ยุคใหม่ระดับมืออาชีพดูดาวด้วยจอภาพคอมพิวเตอร์ โดยจะได้ภาพดาวจากกล้องดูดาวขนาดใหญ่โตอลังการ กล้องดูดาวบางตัวลอยอยู่ในอวกาศส่งภาพกลับมายังห้องทำงานของนักดาราศาสตร์

ชาวบ้านอย่างเราก็สามารถดูดาวได้ สามารถสัมผัสความรู้สึกของกาลิเลโอได้ กล้องดูดาวที่จะใช้ดูดาวเสาร์อาจจะมีกำลังขยายแค่ประมาณ 50-75 เท่า ก็พอจะเห็นดาวเสาร์แล้ว พอจะดูรู้ว่ามีวงแหวน พอจะเห็นดาวพฤหัสเป็นก้อนใหญ่ๆและมีดวงจันทร์บริวารให้เห็น 4 ดวง แต่ก็ต้องลุ้นกับการโคจรรอบดาวพฤหัสและบางเวลาก็อาจจะหลบไปอยู่ด้านหลังดาวพฤหัส ราคากล้องดูดาวระดับเริ่มต้นสำหรับกำลังขยายประมาณ 75 เท่า ก็อยู่ในระดับที่จ่ายไหว ราคาในเมืองนอกอยู่ที่ 50-100 ดอลล่าร์ เมืองไทยก็แล้วแต่ผู้นำเข้าหรือผู้หิ้วว่าจะสั่งมาแล้วขายเท่าไหร่ หรือหากจะสั่งตรงกับเว็บขายของก็สั่งได้ตามสะดวก

IMG_20210703_234429

ผมใช้กล้องดูดาว firstscope ของ celestron ราคา 59 ดอลล่าร์ กล้องตัวนี้เป็นกล้องระดับเริ่มต้น สำหรับคนที่สนใจอยากดูดาวด้วยงบประมาณไม่มาก และมันเล็กจนพกพาเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่หากต้องการคุณภาพมากกว่านี้ก็ให้หาสิ่งที่แพง ขึ้นไปอีกตามกำลัง และทุกตัวที่แพงกว่านี้ก็น่าจะดีกว่านี้ ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งได้เห็นภาพที่ใหญ่มาก

ภาพดาวเสาร์ที่ถ่ายมาผมใช้โทรศัพท์มือถือเล็งที่ช่องมองภาพของกล้องดูดาว แล้วคร็อปเอาภาพที่เป็นจุดดาวมาขยาย เราก็จะเห็นก้อนวงรีที่ดูมัวๆนิดหน่อย แต่เมื่อปรับแต่งภาพ ลดความสว่างของภาพให้มืดลง แสงฟุ้งเบลอน้อยลง ก็จะปรากฏเป็นภาพดาวเสาร์พร้อมวงแหวนที่ทำให้เราดูแล้วน่าตื่นเต้น ตอนมองด้วยตาในกล้องดูดาวเราก็ตื่นเต้นมากๆอยู่แล้ว และยิ่งถ่ายภาพออกมาได้ก็ยิ่งตื่นเต้นเพิ่มขึ้น ความรู้สุึกว่าเราได้เป็นส่วนหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์ เราได้เห็นในสิ่งที่กาลิเลโอเห็นมันตื่นเต้น บอกเล่ายังไงก็ไม่เท่ากับการสัมผัสด้วยตัวเอง

หากสนใจหากล้องดูดาวใช้ ลองอ่านรีวิวกล้องตัวนี้ได้ครับ firstscope

ดาวเสาร์ใกล้ดาวพฤหัสที่สุดในรอบ 397 ปี

เหตุการณ์ดาวเสาร์โคจรใกล้ดาวพฤหัสทางฝรั่งเรียกว่า the great conjunction หากเราดูด้วยตาเปล่า เราจะเห็นดาวสองดวงเกือบจะทับซ้อนกัน ใครสายตาสั้น มองไกลไม่ค่อยชัด อาจจะเห็นเป็นดาวดวงเดียวกัน การโคจรมาแทบจะตัดกันนั้นเป็นการสังเกตการณ์จากโลก แต่ในความเป็นจริง ดาวเสาร์กับดาวพฤหัสโคจรอยู่ห่างกันมากจนไม่มีวันจะชนกันแน่ๆ

ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร เราจะนับเป็นระยะทาง 1AU เพื่อความสะดวก ดาวพฤหัสจะอยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ 5AU ส่วนดาวเสาร์ห่างดวงอาทิตย์ 10AU นั่นก็คือ โลก ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยแต่ละวงโคจรอยู่ห่างกันมาก

เราได้รับข้อมูลเรื่องเหตุการณ์ great conjunction ตั้งแต่ปลายปี คศ 2018 ซึ่งเป็นการสรุปเหตุการณ์ดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในปี คศ 2019-2020 ข้อมูลเผยแพร่โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ การโคจรแล้วดาวอยู่ใกล้กันเมื่อมองจากโลกจะเกิดขึ้นทุกประมาณ 20 ปี แต่ปีนี้ จะใกล้กันมากกว่าทุกครั้ง โดยจะเกิดเหตุการณ์ใกล้กันมากๆแบบนี้ครั้งล่าสุดเมื่อ 397 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นยุคสมัยที่กาลิเลโอยังมีชีวิตอยู่ และในช่วงเวลาดังกล่าวกาลิเลโอได้มีการค้นพบดาวเสาร์และดาวพฤหัส รวมถึงดวงจันทร์ทั้งสี่ของดาวพฤหัสแล้วด้วย

1608551640292-01

การดูดาวในเหตุการณ์นี้จะทำให้เราสามารถมองเห็นดาวเสาร์และดาวพฤหัสอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นยากมาก และการดูดาวในวันนี้เราใช้กล้องดูดาวตัวที่เห็นในภาพ คือกล้องยี่ห้อ celestron รุ่น Firstscope ซึ่งเป็นกล้องดูดาวชนิดนิวโทเนี่ยนที่ผลิตขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 400 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นปีที่กาลิเลโอได้พัฒนากล้องดูดาวขึ้นมาใช้ และมีการค้นพบอีกมากมายตามมา Firstscope จะมีเลนส์ตามาให้ 2ชิ้น มีชิ้นหนึ่งที่ใส่ในกล้องแล้วจะทำให้กล้องมีกำลังขยาย 75 เท่า ซึ่งเป็นกำลังขยายที่มากกว่าสมัยกาลิเลโออยู่มาก แถมมีคุณภาพดีกว่าด้วย สิ่งที่เราได้เห็นผ่านกล้องนี้คือภาพแบบเดียวกับที่กาลิเลโอเคยเห็น แต่เราเห็นชัดกว่ามากตามคุณภาพวัสดุที่ทันสมัยของยุคปัจจุบัน

IMG_20201221_183915

การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ต้องการอุปกรณ์ที่มาก ซับซ้อน และงบประมาณค่อนข้างมาก แต่เราใช้วิธีเอาโทรศัพท์มือถือส่องไปในช่องมองของกล้องโทรทัศน์เลยเพื่อถ่ายภาพสิ่งที่เราเห็น ภาพถ่ายไม่ค่อยชัดมาก ภาพจริงที่เรามองด้วยตาจะสวยและชัดกว่า ภาพจากโทรศัพท์มือถือทำให้ดูพอรู้ว่าเรากำลังมองดูเหตุการณ์อะไร โอกาสที่เราจะเห็นเหตุการณ์นี้อีกครั้งอาจไม่เกิดขึ้นแล้วในช่วงชีวิตของมนุษย์หนึ่งคน

pockethifi podcast

คลิปเล่าให้ฟังตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูล ให้ความรู้ ฟังเพื่อแก้เบื่อ ฟังตอนรถติด ฟังแล้วเอาไปเล่าให้ลูกฟังต่อได้ เป็นเนื้อหาสำหรับพ่อแม่ที่อยากจะมีเรื่องไปเล่าให้ลูกฟัง

กล้องดูดาวตอนที่ 1

ติชมได้นะครับ

openbox Celestron FirstScope

IMG_0144
กล้องดูดาว celestron รุ่น firstscope

กล้องดูดาว FirstScope ของ Celestron เป็นกล้องดูดาวระบบนิวโทเนี่ยน ขนาดเล็กกำลังน่ารัก เหมาะกับการพกพาไปดูดาวในสถานที่ต่างๆ ความเล็กของมันทำให้เราสามารถหากระเป๋าหรือเป้มาแบกมันไว้ สะพายหลังไปดูดาวนอกสถานที่ได้ง่ายดาย กล้องรุ่นนี้เหมาะกับนักดูดาวระดับเริ่มต้น เหมาะกับคนที่ยังไม่รู้ว่าเราจะชอบดูดาวจริงไหม ผมตั้งใจหามาเพื่อดูดาวร่วมกับลูก กำลังคิดว่าจะดูจากในรถยนต์เลยด้วย เพราะจะได้ไม่ต้องไปให้ยุงกัด

OPTICAL TUBE INFO:
Optical DesignNewtonian Reflector
Aperture76mm (2.99″)
Focal Length300mm (12″)
Focal Ratio3.95
Focal Length of Eyepiece 120mm (0.79″)
Magnification of Eyepiece 115x
Focal Length of Eyepiece 24mm (0.16″)
Magnification of Eyepiece 275x
Highest Useful Magnification180x
Lowest Useful Magnification11x
Limiting Stellar Magnitude11.9
Resolution (Rayleigh)1.83 arc seconds
Resolution (Dawes)1.53 arc seconds
Light Gathering Power (Compared to human eye)118x

ข้อมูลจาก celestron บอกไว้ว่า กล้องตัวนี้ มีขนาดกระจกสะท้อนแสง 76มม. มีทางยาวโฟกัสของกระจกอยู่ที่ 300 มม. และ ให้เลนส์ตา หรือ eyepiece มา 2 ชิ้น ชิ้นแรกมีทางยาวโฟกัส 20มม. ชิ้นที่2 มีทางยาวโฟกัส 4 มม. แปลว่า ถ้าเราใส่เลนส์ตา 20 มม. กล้องตัวนี้จะมีกำลังขยาย 300/20 = 15เท่า และถ้าใส่เลนส์ตา 4มม. กำลังขยายจะกลายเป็น 300/4 = 75 เท่า

อัตราขยาย 75เท่า เพียงพอจะทำให้เรามองเห็นดาวเสาร์และวงแหวนของดาวเสาร์ได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังได้เห็นดาวพฤหัส และดวงจันทร์ของดาวพฤหัสอีก 4 ดวงด้วย กล้อง firstscope เหมาะแก่การดูดาวเคราะห์มาก ซึ่งการดูดาวเคราะห์ให้พอเห็นนั้นทำได้ในทุกๆที่ ไม่จำเป็นต้องเข้าป่าลึก หรือ หลบแสงสว่างจากเมืองหลวง

ลองดูวิดีโอแนะนำตัว FirstScope จาก celestron

ขอเล่าประวัติกล้องดูดาวอย่างย่อ

กล้องดูดาวถูกสร้างครั้งแรกโดยกาลิเลโอ ในปี คศ 1609 เป็นกล้องระบบหักเหแสง ส่วนกล้องดูดาวระบบนิวโทเนี่ยนถูกสร้างในปี คศ 1668 โดยไอแซคนิวตัน กล้องดูดาวนิวโทเนี่ยนเป็นกล้องที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความเบลอ ความคลาดสี และปรับปรุงให้มีขนาดที่เล็กลงในอัตราขยายที่เท่ากัน และกล้องระบบนิวโทเนี่ยนก็ได้ครับความนิยมสร้างกันเป็นจำนวนมาก กล้องขนาดใหญ่ระดับหนึ่งเมตรหรือมากกว่าจะเป็นกล้องระบบนิวโทเนี่ยนทั้งหมด

galileo_telescope
กล้องดูดาวของ galileo คาดว่าเป็นตัวจำลองมาจากของจริง

tele_newton_big
กล้องดูดาวของไอแซคนิวตัน

กล้องดูดาว Firstscope เมื่อตอนใช้งาน ขนาดเล็กมาก เราสามารถใช้กล้องนี้ตั้งที่ไหนก็ได้เพื่อดูดาวเคราะห์ แม้แต่ในกรุงเทพ ในบ้าน เราก็ดูดาวเสาร์ได้ มองเห็นวงแหวนดาวเสาร์แน่นอน

Telescope
IMG_1502

ดูดาว 16may2019

วันที่ 16 พฤษภาคม 2562 เวลาประมาณ 23.59 น. ดูท้องฟ้าด้านทิศตะวันออก จะเห็นดาวเสาร์ที่มุมเงิยประมาณ 30องศา ดาวเสาร์ยังมีวงแหวนอยู่อย่างชัดเจน ส่วนดาวพฤหัสที่ช่วงเวลาเดียวกันจะอยู่สูงเกือบจะเป็นมุมเงย 60องศา ที่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปีนี้ดาวพฤหัสน่าจะใกล้โลกพอสมควร เพราะภาพที่เห็นในกล้องดูดาวให้ขนาดดาวที่เห็นเป็นเม็ดกลมๆ มีริ้วๆบางๆ ไม่ได้เห็นเป็นจุดแบบดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลๆดวงอื่น และเราได้เห็นดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัส 2 ดวง ซึ่งหากเทียบกับปีที่แล้ว เราสามารถเห็นได้ถึง 4 ดวง อาจจะเป็นเพราะท้องฟ้ามีเมฆเยอะ หรือฝุ่นเยอะ หรือ ดวงจันทร์อาจโคจรอยู่ด้านหลังดาวพฤหัสก็เป็นได้

ภาพปรากฏการณ์ท้องฟ้าจากเว็บของสมาคมดาราศาสตร์สำหรับเดือนพฤษภาคม 2562

ดาวเสาร์ข้างดวงจันทร์

ดาวเสาร์อยู่ข้างๆดวงจันทร์ 19.40น. วันจันทร์ที่ 15ตุลาคม2561

การดูดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบสุริยะจักรวาล โดยเฉพาะดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดาวพฤหัส เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างจังหวัด  และไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่มืดสนิท  ท่ามกลางเมืองหลวงแม้จะเปิดไฟตึกกันจนสว่างไสวเราก็ดูดาวสามดวงนี้ได้  และดาวที่สร้างแรงบันดาลใจยิ่งยวดให้กับเด็กๆก็คือดาวเสาร์

การดูดาวเสาร์อาศัยกล้องดูดาวระดับเริ่มต้นก็พอจะมองเห็นวงแหวนดาวเสาร์แล้ว  ผมตั้งกล้องให้ลูกดูมานานหลายเดือน  บางวันเราก็ตั้งกล้องที่หน้าบ้าน  บางวันเราก็ตั้งกล้องในบ้านเลย ได้ดูในบ้านจะสบายมากยุงไม่กัด  แถมยังเปิดแอร์เย็นสบายได้ด้วย  ดาวเสาร์จะปรากฏบนท้องฟ้าแต่ละเดือนไม่เหมือนกัน  บางเดือนดูได้ตอนหัวค่ำ  บางเดือนดูได้ตอนก่อนเช้า

 

ภาพที่ถ่ายมาในบทความนี้ผมเอามือถือถ่ายลงไปตรงๆกับช่องมองภาพของกล้องเลย  มันก็จะสั่นๆเบลอๆ  แต่ถ้าดูด้วยตา  ในกล้องจะเห็นดาวและวงแหวนชัดเจน  ภาพที่เห็นจะเหมือนภาพที่เราคุ้นเคยตามสื่อต่างๆ หากจะถ่ายภาพให้สวยเท่าสื่อ  ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง  ต้องใช้กล้องที่ดีกว่านี้  ใช้ตัวบันทึกภาพที่ออกแบบมาถ่ายดาวโดยเฉพาะ

 

7sep2018 ดาวเสาร์ยังมองเห็นได้ตอนสามทุ่ม

ผมเริ่มดูดาวกับลูกมาตั้งแต่ต้นปี น่าจะเป็นช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ซึ่งในเดือนนั้นผมจะดูดาวเสาร์ในเวลาประมาณ 05.00 น. ส่วนในช่วงเดือนกันยายน ผมเห็นดาวเสาร์ช่วงเวลาประมาณ 20-21.00 น. ในทิศที่สูงเกือบตั้งฉากจากพื้นโลก เดาว่าตอนหัวค่ำก็จะเห็นเตี้ยกว่านี้เล็กน้อย โดยตลอดเดือนที่ผ่านมา กรุงเทพมีฝนตกตอนเย็นตลอดเกือบทุกวัน เมฆก็หนาจนแทบไม่เห็นดาว เพิ่งจะมีวันนี้ที่ได้เห็นอยู่ไม่กี่ชั่วโมง

PHOTO_COLLAGE1536337316650

การถ่ายภาพดาวเสาร์เป็นเรื่องที่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางเยอะ ซึ่งผมไม่ได้ลงทุนกับสิ่งเหล่านี้ อาศัยเพียงเอาโทรศัพท์มือถือถ่ายลงไปที่ช่องมองภาพของกล้องดูดาว แล้วก็ขยับไปมาเล็กน้อยให้มีภาพเป็นจุดในมือถือ แล้วก็พยายามถ่ายให้ไม่สั่น แล้วเอามาขยายดู

Saturn

Screenshot_20180907-211531

ภาพดาวเสาร์จากกล้องมือถือก็ให้คุณภาพไม่ชัดเลย เห็นเป็นเพียงวงรีเบลอๆ ซึ่งหากมองด้วยตาผ่านกล้องดูดาว เราจะเป็นดาวเสาร์และวงแหวนชัดเจน แต่ไม่ได้ภาพที่ใหญ่นัก มันเป็นเพราะกล้องดูดาวของผมเป็นรุ่นราคาต่ำ และดาวเสาร์เริ่มอยู่ไกลจากโลกเรามากกว่าเมื่อต้นปี

โลกเราหมุนรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 1 ปี ในเวลา 6 เดือนที่ผ่านไปก็จะหมายถึงโลกเราเคลื่อนที่ไปอยู่ตรงกันข้ามกับตำแหน่งเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว เรียกได้ว่า ตอนที่ดาวเสาร์อยู่ใกล้โลก เราจะเห็นดาวเสาร์ใหญ่มากในกล้องดูดาว และในอีก 6 เดือนต่อมาเราจะเห็นดาวเสาร์เล็กลงไปมาก และที่สำคัญเวลาที่จะดูดาวเสาร์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีดวงอาทิตย์คั่นตรงกลางด้วยในบางเวลา นั่นแปลใหม่ได้ว่า ดาวเสาร์ขึ้นตอนกลางวัน และต้องรอพระอาทิตย์ตก เราถึงจะเห็นดาวเสาร์อยู่กลางฟ้า

มันโรแมนติคหรือเหงาก็ไม่แน่ใจ ความรู้สึกเหมือนกำลังฟังเพลง ไฟกับตะวัน “ไฟ กับประกายของแสงตะวัน ฉันจึงไม่สงสัย เธอย่อมจะโยนดวงไฟ และคงไม่คิดกลับคืน”

ดูดาว 13มีนาคม2561

ดาวเสาร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส เรียงกันหน้าบ้าน มุมเงยประมาณ 45องศา เวลาประมาณ 05.30 น. วันที่ 13 มีนาคม 2561  ทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปถึง ทิศใต้.

IMG_20180313_055146-saturn mars jupiter 13mar2018

 

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ มีวงแหวนขนาดใหญ่  สามารถมองเห็นได้จากโลก มองฟ้าจะเห็นเป็นจุด  แต่ถ้าใช้กล้องส่องทางไกลหรือกล้องดูดาวจะเห็นว่าเป็นดาวมีวงแหวนชัดเจน  ส่วนดาวอังคารดูยากหน่อย  ถ้าแผนที่ดาวในสมาร์ทโฟนไม่ได้บอกไว้ก็ไม่แน่ใจว่าจะชี้ถูกหรือไม่  และสุดท้ายดาวพฤหัสหรือ jupiter เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ  มองเห็นจากโลก  มองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นดาวสว่างมากที่สุดบนท้องฟ้า. ส่องกล้องก็จะเห็นมากขึ้น แต่ลายเส้นแนวขวาง และจุดกลมใหญ่ที่เป็นพายุในดาวผมมองไม่เห็นจากกล้องของผม  เป็นเพราะกล้องที่ใช้มีคุณภาพต่ำเกินไป

 

 

ดูดาววันนี้ เห็นดาวสามดวง

Screenshot_20180305-091630

 

5mar2018

ดาวที่เห็นก็คือ ดาวพฤหัส ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ช่วงเวลา 05.30-6.00 น  ที่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มุมเงยประมาณ 45 องศา

ขอบฟ้าเริ่มสนใจดวงดาว

ขอบฟ้าเริ่มสนใจดวงดาว น่าจะเป็นเพราะพ่อเริ่มอ่านประวัตินักวิทยาศาสตร์เก่งๆให้ฟังแทนนิทานก่อนนอน มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่ขอบฟ้าชอบ และมักจะถามพ่อว่า พ่อชอบคนไหนมากที่สุด ให้เรียงลำดับจากมากไปน้อย พร้อมให้บอกเหตุผลด้วยว่าชอบเพราะอะไร ซึ่งพ่อก็เล่าและชอบกาลิเลโอที่สุด ขอบฟ้าเลยชอบกาลิเลโอด้วย

IMG_20180101_215323_619

 

ขอบฟ้าชอบกาลิเลโอมากเป็นพิเศษ แต่งตัวแฟนซีไปโรงเรียนก็ขอเป็นกาลิเลโอ พ่อก็เลยหากล้องดูดาวมาให้เล่น และซื้อกล้องส่องทางไกลให้เป็นของขวัญคริสมาสต์ แล้วก็เริ่มดูดาว เริ่มส่องดูดวงจันทร์ด้วยกัน ตั้งแต่ช่วงนี้ขอบฟ้าก็ชอบดูดาวมาเรื่อยๆ และเริ่มสนใจอวกาศ ดวงดาว แกแล็คซี่

IMG_20180108_202259

 

youtube เป็นแหล่งความรู้และความบันเทิงของขอบฟ้า นอกจากหนังต่อสู้ ไดโนเสาร์ ปลาวาฬ ก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับดวงดาวเพิ่มเติมเข้ามา สารคดีอวกาศและดวงดาวเป็นสิ่งทีทำให้ขอบฟ้าเพลิดเพลินได้ ขอบฟ้าชอบดาวเสาร์เป็นพิเศษ และมีการวาดรูปดาวเสาร์และดาวพฤหัสบ่อยมาก

https://flic.kr/p/22jbnqF

 

IMG_0050

การเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในช่วงเวลานี้เป็นการเที่ยวที่สนุกมาก เพราะขอบฟ้ารู้เรื่องมากขึ้น ถามหาเหตุผลของสิ่งที่ไปดู และไปได้แผนที่ดวงดาวกลับมาด้วย ทำให้การดูดาวจริงจังมากยิ่งขึ้น ดวงดาวทุกดวงในสุริยะจักรวาลขอบฟ้าจำได้ทั้งหมด ดาวฤกษ์ที่สำคัญและมีตัวตนบนแผนที่ก็จะจำได้หลายดวง การดูดาวที่ท้องฟ้าจำลองก็กลายเป็นเรื่องสนุกเพราะเริ่มฟังเข้าใจ ขอบฟ้าจำตำแหน่งดวงดาวได้ มองแผนที่ดวงดาวและหาดาวที่ต้องการจนเจอ

IMG_0045

 

สิ่งที่พ่อกลัวก็คือ กลัวขอบฟ้าขอให้พาไปขึ้นยานอวกาศ กลัวขอบฟ้าขอให้พาไปดูที่ปล่อยจรวด แล้วขอบฟ้าก็ขอจริงๆด้วย